เป็นเรื่องที่ร้อนแรงในกระแสโลกของการเงินดิจิทัลอยู่ในขณะนี้ ว่าด้วยเรื่องการเก็บ ภาษีคริปโต จะเป็นอย่างไร เรียกได้ว่าสั่นสะเทือนวงการคริปโตไทยในขณะนี้ ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยออกเสียงทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์เป็นจำนวนมาก หลายคนก็ตื่นเต้นไปกับการจัดเก็บภาษีและหลายคนก็ยังคงมีเครื่องหมายคำถาม คริปโตคืออะไร ? และทำไมต้องเสียภาษี ?
คริปโต ถือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่สามารถซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนกันได้ในระบบออนไลน์ ซึ่งกำลังเป็นที่จับตามองในปัจจุบัน โดยทางอธิบดีกรมสรรพากร คุณเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ได้มีการออกพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 อย่างชัดเจน กรณีได้รับผลตอบแทนจากสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าว จะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 ของกำไรที่เกิดขึ้น พร้อมต้องยื่นแบบแสดงเงินได้ภาษีบุคคลธรรมดาด้วย
ภาษีคริปโต เอาไงแน่ และใครต้องจ่าย ?
1. กลุ่มคนทำเหมือง หรือ mining คือผู้ที่การแข่งขันการแก้สมการทางคณิตศาสตร์เพื่อได้สิทธิ์ในการเข้าถึงธุรกรรมใหม่บนระบบบล็อกเชนและจะได้รับรางวัลเป็นบิตคอยน์ นั่นเอง
2. ผู้เทรดเหรียญ ในที่นี้หมายรวมไปถึงทุกเหรียญที่มีการซื้อขาย ทำกำไรในระบบสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น บิตคอยน์ , Ethereum , Cardano เป็นต้น
แนวทางการเสีย ภาษีคริปโต ประเภทภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ดังนี้
1.กำไรจากการขาย หรือการแลกเปลี่ยนจนเกิดกำไร ถือเป็นเงินได้มาตรา 40 (4)(ฌ)
2.เมื่อชำระค่าบริการหรือสินค้า ด้วยเหรียญคริปโต ไม่ว่ากิจกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในรูปแบบจับต้องได้ หรือไม่ได้ก็ตาม
3.ได้รับมาโดยไม่มีค่าตอบแทน โดยแบ่งตามตารางการชำระภาษีตามอัตราส่วน เช่น การชิงโชค ได้รับเงิน 1,000 บาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% เป็นต้น
4.ได้รับคริปโตเป็นมรดก ตอนได้รับมรดกและตอนขาย จะได้รับการยกเว้นภาษีไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี
5.กรณีได้รับจากการทำงาน ก็ถือว่าเป็นเป็นเงินได้ทุกประเภท
6.กรณีการขุดเหรียญ หรือ mining ผู้ขุดที่ชนะและได้รับเหรียญเป็นการตอบแทนจะจะต้องมีการชำระภาษีตามกฎหมาย
7.การฝากเอาดอกเบี้ยและการนำเงินไว้ในกระดานโดยไม่ถอนเงินออกมา
ผลกระทบจาก ภาษี คริปโต
แน่นอนว่าเมื่อมีการเรียกเก็บภาษีผู้มีเงินได้ก็ได้รับผลกระทบจากอัตราภาษีดังกล่าว โดยเฉพาะด้านธุรกรรมเป็นจำนวนมาก เพราะอัตราภาษีที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดที่ยังถือว่าใหม่ของคนไทย รวมทั้ง Exchange ในไทย ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เช่น การลดจำนวนผู้ลงทุนและมีแนวโน้มจะย้ายไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น และแนวโน้มการหลบเลี่ยงภาษีจึงมีการแลกเงินแบบ Peer To Peer มากขึ้น
กรณีที่ไม่ต้องยื่นเสียภาษี สำหรับบุคคลทั่วไปที่มีรายได้จากคริปโตตลอดทั้งปีไม่เกิน 60,000 บาท ต่อปี ไม่ต้องยื่นหรือเสียภาษีและในกรณีที่ตลอดทั้งปีมีรายได้ 210,000 บาท ก็ต้องมีการยื่นภาษี แม้ว่ารายได้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ตามและกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีอายุครบ 65 ปี มีความพิการ หากกำไรไม่เกิน 400,000 บาทต่อปี ก็ไม่ต้องเสียภาษีแต่ยังต้องยื่นภาษีอยู่ เป็นต้น
แม้ว่าจะมีการออกกฎหมายและเรียกเก็บ ภาษีคริปโต ออกมาแล้ว แต่ก็ยังมีหลายส่วนที่ยังขาดความกระจ่างชัด ทำให้ยังมีหลายฝ่ายทั้งนักลงทุนและเจ้าของแพลตฟอร์ม ที่ยังคงรวบรวมรายชื่อและรายละเอียดขอยื่นเรื่องเกี่ยวกับอัตราภาษีดังกล่าวกับกรมสรรพากรอีกครั้ง ดังนั้นนักลงทุนทั้งรายเก่าและรายใหม่ก็ควรติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- สรุป “ภาษี คริปโต” Crypto คืออะไร แบบเข้าใจง่าย ไม่อยากจ่ายทำอย่างไร เช็คเลย : https://www.komchadluek.net/hot-social/500585
- โฆษกสรรพากรชี้แจง-ภาษี : https://www.itax.in.th/media/%E0%B9%82%E0%B8%86%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B8%87-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5/
- กมธ.จ่อถกภาษีหุ้น-คริปโตเคอเรนซี “บิทคับ” เสนอเลื่อนเก็บ 2 ปี : https://www.springnews.co.th/news/820100